วันพุธที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2551

โรงเรียนคุณธรรมชั้นนำ


โรงเรียนบ้านปูแป้ ตั้งอยู่ที่ 166 หมู่ที่ 3 บ้านปูแป้ ตำบลพะวอ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ตั้งขึ้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2530 โดยเป็นสาขาโรงเรียนวัดสว่างอารมณ์ ใช้ศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขาบ้านปูแป้เป็นอาคารเรียนชั่วคราว ต่อมาในวันที่ 25 – 26 มกราคม พ.ศ. 2534 คณะครูโรงเรียนวัดสว่างอารมณ์และผู้ปกครองนักเรียนบ้านปูแป้ ได้ร่วมกัยสร้างอาคารเรียนขึ้นใหม่ 1 หลัง มีขนาดกว้าง 6 เมตร ยาว 20 เมตร คิดเป็นเงินประมาณ 30,000 บาท โดยทำเหนังสือเสนอขอใช้พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติและย้ายนักเรียนเข้ามาเรียนที่อาคารเรียนใหม่ ในวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ.2534 เปิดสอนชั้นประถมปีที่ 5 เพิ่มขึ้น มีนักเรียนรวม 103 คนและเปิดสอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในปีการศึกษา 2535โรงเรียนบ้านปูแป้ ได้รับอนุญาติจากกรมป่าไม้ให้ใช้พื้นที่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ เป็นที่ตั้งโรงเรียน ตามหนังสือประกาศของกรมป่าไม้ที่ 262/2536 เลงวันที่ 8 กรกฎาคม 2536 โดยได้รับอนุญาตจากสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดตาก ประกาศให้เป็นโรงเรียนเอกเทศ ตั้งชื่อว่า “ โรงเรียนบ้านปูแป้” เมื่อ วันที่ 1 พฤษภาคม 2536 ปัจจุบันมีเนื้อที่ 20 ไร่ เป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอ แม่สอดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดตาก มีอาคารเรียน 2 หลัง อาคารประกอบ 1 หลัง ในปีการศึกษา 2548 มีนักเรียน 91 คน ข้าราชการครู 8 คน จัดการศึกษาให้กับนักเรียน 2 ระดับ คือ ระดับก่อนประถมศึกษา ระดับประถมศึกษา แบ่งออกเป็น 2 ช่วงชั้น
วิสัยทัศน์ :
วิสัยทัศน์ภายในปีการศึกษา 2549 นักเรียนโรงเรียนบ้านปูแป้ มีความรู้ และมีความสามารถ ตามมาตรฐานคุณภาพของโรงเรียน เน้นความสำคัญในด้านทักษะการใช้ภาษา และความสามารถ ทางด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สามารถคิดและแก้ปัญหาได้ มีคุณธรรม จริยธรรม มีวินัย มีความรับผิดชอบในตนเอง สุขภาพดี และเห็นคุณค่าของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญหาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และในความภาคภูมิใจในความเป็นไทย ทำงานร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข ระดมทรัพยากรจากด้านองค์กรในภาครัฐ และภาคเอกชนในชุมชน โดยให้มีส่วนร่วม ในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
คำขวัญ :
เรียนดี กีฬาเด่น เน้นวินัย ใฝ่คุณธรรม
พันธกิจ :
พันธกิจ1. จัดการศึกษาภาคบังคับ ช่วงชั้นที่ 1 และ 22. พัฒนาการเรียนการสอนให้มีคุณภาพตามที่สำนักงานรองรับมาตรฐานและประเมินคุณ การศึกษา (สมศ.) กำหนด3. ส่งเสริมและปลูกฝังให้นักเรียนเป็นคนมีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่ดี สามารถดำรงตนอยู่ ในสังคมอย่างมีความสุข4. นำแหล่งการเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการเรียนการสอน5. สนับสนุนให้ชุมชนและองค์กรอื่น ๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาโรงเรียนเป้าหมายของโรงเรียนเพื่อให้นักเรียนได้รับการศึกษาอย่างเสมอภาคและทั่วถึง พัฒนาคุณภาพของนักเรียนและเสริมสร้างพัฒนาการทุก ๆ ด้านให้เป็นคนดี เก่ง มีความสุข มีความสำนึกในความเป็นไทย ห่างไกลจากยาเสพติด บริโภคอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย มีสุขภาพพลานามัยสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ มีความรู้ความสามารถเป็นที่ยอมรับของชุมชนและอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข2.2 แนวคิดหลักของการพัฒนาโรงเรียนโรงเรียนสนับสนุนให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ส่งเสริมให้บุคลากรในโรงเรียนพัฒนาทักษะความรู้โดยการศึกษาต่อ การอบรมสัมมนา การทำวิจัย มีการวางแผนการจัดทำและพัฒนางานร่วมกัน มีการปรับปรุงบริเวณโรงเรียนและอาคารสถานที่ มีการสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงานเพื่อให้งานมีประสิทธิภาพ2.3 ระบบโครงสร้างของการบริหารการศึกษาโรงเรียนแบ่งโครงสร้างการบริหารเป็น 4 งาน ดังนี้1. การบริหารวิชาการ2. การบริหารงบประมาณ3. การบริหารงานบุคคล4. การบริหารทั่วไป
เป้าประสงค์ :
เนื่องจากโรงเรียนบ้านปูแป้ เป็นโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา และได้ผ่านการอบรมการจัดทำหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 เมื่อปี พ.ศ. 2545 ดังนั้นโรงเรียนจะต้องจัดการศึกษาให้เป็นไปตามหลักการ จุดหมาย และมาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนดตามโครงสร้างของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดังนี้1. ระดับช่วงชั้นกำหนดหลักสูตรเป็น 2 ช่วงชั้น ตามระดับพัฒนาการของผู้เรียนดังนี้ช่วงชั้นที่ 1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 3ช่วงชั้นที่ 2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 62. สาระการเรียนรู้กำหนดสาระการเรียนรู้ตามหลักสูตร ซึ่งประกอบด้วยองค์ความรู้ ทักษะหรือกระบวนการการเรียนรู้ และคุณลักษณะหรือค่านิยม คุณธรรม จริยธรรมของผู้เรียนเป็น 8 กลุ่ม ดังนี้1.1 ภาษาไทย1.2 คณิตศาสตร์1.3 วิทยาศาสตร์1.4 สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม1.5 สุขศึกษาและพลศึกษา1.6 ศิลปะ1.7 การงานอาชีพและเทคโนโลยี1.8 ภาษาต่างประเทศสาระเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่มนี้เป็นพื้นฐานสำคัญที่ผู้เรียนทุกคนต้องเรียนรู้ โดยอาจจัดเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มแรก ประกอบด้วย ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมเป็นสาระการเรียนรู้ที่สถานศึกษาต้องใช้เป็นหลักในการจัดการเรียนการสอนเพื่อสร้างพื้นฐานการคิดและเป็นกลยุทธ์ในการแก้ปัญหาและวิกฤตของชาติ กลุ่มที่สอง ประกอบด้วยสุขศึกษาและพลศึกษา ศิลปะ การงานอาชีพและเทคโนโลยี และภาษาต่างประเทศ เป็นสาระการเรียนรู้ที่เสริมสร้างพื้นฐานความเป็นมนุษย์และสร้างศักยภาพในการคิดและการทำงานอย่างสร้างสรรค์เรื่องสิ่งแวดล้อมศึกษา หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ไว้ในสาระการเรียนรู้กลุ่มต่าง ๆ โดยเฉพาะกลุ่มวิทยาศาสตร์ กลุ่มสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม กลุ่มสุขศึกษาและพลศึกษากลุ่มภาษาต่างประเทศ กำหนดให้เรียนภาษาอังกฤษทุกช่วงชั้น ส่วนภาษาต่างประเทศอื่น ๆ สามารถเลือกจัดการเรียนรู้ได้ตามความเหมาะสมหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน กำหนดสาระการเรียนรู้ในแต่ละกลุ่มไว้เฉพาะส่วนที่จำเป็นในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนทุกคนเท่านั้น สำหรับส่วนที่ตอบสนองความสามารถ ความถนัดและความสนใจของผู้เรียนแต่ละคนนั้นสถานศึกษาสามารถกำหนดเพิ่มขึ้นได้ ให้สอดคล้องและสนองตอบศักยภาพของผู้เรียนแต่ละคน3. กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเป็นกิจกรรมที่จัดให้ผู้เรียนได้พัฒนาความสามารถของตนเองตามศักยภาพ มุ่งเน้นเพิ่มเติมจากกิจกรรมที่ได้จัดให้เรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่ม การเข้าร่วมและปฏิบัติกิจกรรมที่เหมาะสมร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุขกับกิจกรรมที่เลือกด้วยตนเองตามความถนัดและความสนใจอย่างแท้จริง การพัฒนาที่สำคัญ ได้แก่ การพัฒนาองค์รวมของความเป็นมนุษย์ให้ครบทุกด้าน ทั้งร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม โดยอาจจัดเป็นแนวทางหนึ่งที่จะสนองนโยบายในการสร้างเยาวชนของชาติให้เป็นผู้มีศีลธรรม จริยธรรม มีระเบียบวินัย และมีคุณภาพเพื่อพัฒนาองค์รวมของความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ปลูกฝังและสร้างจิตสำนึกของการทำประโยชน์เพื่อสังคม ซึ่งสถานศึกษาจะต้องดำเนินการอย่างมีเป้าหมาย มีรูปแบบและวิธีการที่เหมาะสม กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ3.1 กิจกรรมแนะแนว เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมและพัฒนาความสามารถของผู้เรียนให้เหมาะสมตามความแตกต่างระหว่างบุคคล สามารถค้นพบและพัฒนาศักยภาพของตนเสริมสร้างทักษะชีวิต วุฒิภาวะทางอารมณ์ การเรียนรู้ในเชิงพหุปัญญา และการสร้างสัมพันธภาพที่ดีซึ่งผู้สอนทุกคนต้องทำหน้าที่แนะแนวให้คำปรึกษาด้านชีวิต การศึกษาต่อและพัฒนาตนเองสู่โลกอาชีพและการมีงานทำ3.2 กิจกรรมนักเรียน เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนต้องปฏิบัติด้วยตนเองอย่างครบวงจรตั้งแต่ศึกษา วิเคราะห์ วางแผน ปฏิบัติตามแผน ประเมิน และปรับปรุงการทำงาน โดยเน้นการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม เช่น ลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด และผู้บำเพ็ญประโยชน์ เป็นต้น4. มาตรฐานการเรียนรู้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่ม ที่เป็นข้อกำหนดคุณภาพผู้เรียนด้านความรู้ ทักษะ กระบวนการ คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมของแต่ละกลุ่ม เพื่อใช้เป็นจุดมุ่งหมายในการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ซึ่งกำหนดเป็น 2 ลักษณะ คือ4.1 มาตรฐานการเรียนรู้การศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นมาตรฐานการเรียนรู้ในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้เมื่อผู้เรียนเรียนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน4.2 มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้นเป็นมาตรฐานการเรียนรู้ในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ เมื่อผู้เรียนเรียนจบในแต่ละช่วงชั้น คือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ 6 มาตรฐานการเรียนรู้ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดไว้เฉพาะมาตรฐานการเรียนรู้ที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนทุกคนเท่านั้น สำหรับมาตรฐานการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาในชุมชนและสังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณลักษณะอันพึงประสงค์เพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ ตลอดจนมาตรฐานการเรียนรู้ที่เข้มขึ้นตามความสามารถ ความถนัด และความสนใจของผู้เรียน ให้สถานศึกษาพัฒนาเพิ่มเติมได้5. เวลาเรียนหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดเวลาในการจัดการเรียนรู้และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนไว้ดังนี้ช่วงชั้นที่ 1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 3 มีเวลาเรียนประมาณปีละ 800 – 1000 ชั่วโมงเฉลี่ยวันละ 4 – 5 ชั่วโมงช่วงชั้นที่ 2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 มีเวลาเรียนประมาณปีละ 800 – 1000 ชั่วโมงเฉลี่ยวันละ 4 – 5 ชั่วโมง
อักษรย่อ :
ปป.